ความหมายของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ (software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามลำดับขั้นตอนการทำงานซึ่งเขียนขึ้นด้วยภาษาของคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีมากมาย ซึ่งอาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งาน ผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตเพื่อจำหน่าย โดยซอฟต์แวร์สามารถแบ่งลักษณะการทำงานได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)
ประเภทของซอฟต์แวร์
1.ซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์และประสานงานระหว่างซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และผู้ใช้งาน ซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย
1.1ระบบปฏิบัติการ (operating system)
1.2โปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (translator)
1.3โปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program)
1.4โปรแกรมขับอุปกรณ์ (device driver)
1.1ระบบปฏิบัติการ (operating system)
ระบบปฏิบัติการทำหน้าที่จัดสรรและควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ เช่น การรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด การจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ การควบคุมการทำงานของซีพียู การควบคุมการอ่านและบันทึกข้อมูลของหน่วยเก็บข้อมูล การควบคุมการแสดงส่วนติดต่อกับผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติดต่อกับส่วนต่างๆของคอมพิวเตอร์ผ่านโปรแกรมประยุกต์ได้
ส่วนติดต่อกับผู้ใช้มี 2 ลักษณะ คือ
1)ส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้แบบบรรทัดคำสั่ง (command-line user interface)
2)ส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิก (Graphical User Interface : GUI)
ส่วนติดต่อกับผู้ใช้มี 2 ลักษณะ คือ
1)ส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้แบบบรรทัดคำสั่ง (command-line user interface)
2)ส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิก (Graphical User Interface : GUI)
1.2โปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (translator)
การที่มนุษย์จะติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการได้นั้น จำเป็นต้องมีตัวกลางในการสื่อสาร ซึ่งเปรียบเสมือนกับภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ตัวกลางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาที่คอมพิวเตอร์รู้จักและปฏิบัติงานได้ทันทีเรียกว่า ภาษาเครื่อง ซึ่งเป็นภาษาที่อยู่ในรูปเลขฐานสอง ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้
1.คอมไพเลอร์ (compiler) เป็นโปรแกรมแปลภาษาระดับสูง โดยแปลทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น เช่น ภาษาซี ตัวแปลภาษาปาสคาล
2.อินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter) เป็นโปรแกรมแปลภาษาระดับสูง โดยแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป เช่น ตัวแปลภาษาโลโก
3.แอสเซมเบลอร์ (assembler) เป็นโปรแกรมแปลภาษาแอสแซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง
1.คอมไพเลอร์ (compiler) เป็นโปรแกรมแปลภาษาระดับสูง โดยแปลทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น เช่น ภาษาซี ตัวแปลภาษาปาสคาล
2.อินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter) เป็นโปรแกรมแปลภาษาระดับสูง โดยแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป เช่น ตัวแปลภาษาโลโก
3.แอสเซมเบลอร์ (assembler) เป็นโปรแกรมแปลภาษาแอสแซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง
1.3โปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program)
โปรแกรมอรรถประโยชน์เป็นโปรแกรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน หรือการจัดการคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดการไฟล์ การบีบอัดไฟล์ การสำรองไฟล์ การจัดเรียงพื้นที่ดิสก์ การลบไฟล์ที่ไม่จำเป็น การป้องกันไวรัส
1.4โปรแกรมขับอุปกรณ์ (device driver)
โปรแกรมขับอุปกรณ์เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการติดตั้งระบบเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อหรือใช้งานอุปกรณ์ต่างๆได้ ตัวอย่างโปรแกรมขับอุปกรณ์ เช่น printer driver, scanner driver, sound driver
2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ โปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่างๆตามที่ต้องการ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ประกอบด้วย
2.1ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป
2.2ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
2.1ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้กับงานทั่วไป คือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้นและจัดจำหน่ายเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นใช้เอง ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์นำเสนอ ซอฟต์แวร์นำเสนอ ซอฟต์แวร์สื่อสาร ซอฟต์แวร์กราฟิกและสื่อประสม
2.1ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป
2.2ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
2.1ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้กับงานทั่วไป คือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้นและจัดจำหน่ายเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นใช้เอง ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์นำเสนอ ซอฟต์แวร์นำเสนอ ซอฟต์แวร์สื่อสาร ซอฟต์แวร์กราฟิกและสื่อประสม
2.2ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
การเลือกใช้ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์มีหลายประเภทด้วยกัน ดังนั้นการเลือกใช้ซอฟต์แวร์จึงต้องพิจารณาให้เหมาะสม ข้อควรพิจารณาในการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ มีดังนี้
- การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน
- การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับทรัพยากร
- การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงบประมาณ
- การเลือกใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์
1.การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน
การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงานต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ในการนำซอฟต์แวร์ไปใช้งานเพื่อจะได้ซอฟต์แวร์ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด และเพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการทำงานของซอฟต์แวร์
2.การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับทรัพยากร
การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับทรัพยากรหรือฮาร์ดแวร์ที่มีอยู่ ต้องพิจารณาคุณลักษณะขั้นต่ำของคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต้องมี เพื่อให้สามารถประมวลผลซอฟต์แวร์นั้นได้ โดยคอมพิวเตอร์ที่จะติดตั้งซอฟต์แวร์จะต้องมีคุณลักษณะไม่ต่ำไปกว่าที่ผู้ผลิตซอฟต์แวร์กำหนดไว้
3.การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงบประมาณ
หากมีงบประมาณไม่เพียงพอ อาจเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่ราคาต่ำกว่าหรือไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน
4.การเลือกใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์
เพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีผู้ผลิตซอฟต์แวร์ต่างๆอย่างต่อเนื่อง ถ้าต้องใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ต้องจัดซื้อให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น